บั้งไฟพญานาค ตำนานความเชื่อเรื่องพญานาคแม่น้ำโขง - สยามมงคลแมก

สยามมงคลแมก

สยามมงคลแมก : นิตยสารพระเครื่องและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออนไลน์ บทความสาระความรู้ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระเครื่อง ให้บูชาพระเครื่อง และแนะนำวัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง

test banner

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บั้งไฟพญานาค ตำนานความเชื่อเรื่องพญานาคแม่น้ำโขง


บั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์ ตำนานความเชื่อเรื่องพญานาค แห่งแม่น้ำโขง

บั้งไฟพญานาค เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นที่แม่น้ำโขง มีลักษณะเป็นลูกกลมๆลอยขึ้นจากน้ำสู่ท้องฟ้า จำนวนหลายๆลูก จะเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษาของทุกๆปี

บั้งไฟพญานาค เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ในทางตำนานความเชื่อนั้น เกิดจากตำนานพญานาค ที่ไม่สามารถบวชเป็นพระภิกษุได้ เพราะไม่ใช่มนุษย์ แต่ก็มีความปรารถนาที่จะบวช จึงได้ปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ และมีความเคารพในพระพุทธศาสนาและองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นระยะเวลา 3 เดือน เมื่อเสด็จกลับโลกสู่มนุษย์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ "เปิดโลก" ให้แต่ละภพภูมิสามารถเห็นกันได้ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ด้วยเหตุนี้พญานาคในเมืองบาดาล จึงได้สร้างบั้งไฟพญานาคขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

ลักษณะของบั้งไฟพญานาค
บั้งไฟพญานาคมีลักษณะเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือจนถึงขนาดเท่ากำปั้น มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น จะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1–30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50–150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5–10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อย ๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟแต่อย่างใด

สถานที่พบบั้งไฟพญานาค
จังหวัดที่เกิดบั้งไฟพญานาคมากที่สุดนั้นคือจังหวัดหนองคาย ตำแหน่งที่มักปรากฏบั้งไฟพญานาคประมาณ 20 จุด โดยพบที่อำเภอโพนพิสัยมากที่สุด บั้งไฟพญานาคยังขึ้นอยู่ตามหนองน้ำ บ่อน้ำ ลำห้วย ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากลำน้ำโขงราว 500 เมตร ก็มีผู้พบเห็น สำหรับระยะเวลาในการขึ้นของบั้งไฟพญานาคนั้นจะขึ้น ระหว่างตะวันตกดินถึงเวลาประมาณ 23.00 น.

ผลวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์
งานวิจัยวิทยาศาสตร์ของไทยหลายฉบับสรุปว่า บั้งไฟพญานาค คือ ก๊าซมีเทน-ไนโตรเจนเกิดจากแบคทีเรียที่ความลึก 4.55–13.40 เมตร อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนน้อย ในวันที่เกิดปรากฏการณ์มีแดดส่องช่วงประมาณ 10, 13 และ16 นาฬิกา มีอุณหภูมิมากกว่า 26 องศาเซลเซียสทำให้มีความร้อนมากพอย่อยสลายสารอินทรีย์ และจะมีก๊าซมีเทนจากการหมัก 3–4 ชั่วโมง มากพอให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายทำให้ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ ฟองก๊าซที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำบางส่วนจะฟุ้งกระจายออกไป ส่วนแกนในของก๊าซขนาดเท่าหัวแม่มือจะพุ่งขึ้นสูงกระทบกับออกซิเจน รวมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงยามกลางคืนทำให้เกิดการสันดาปอย่างรวดเร็วจนติดไฟได้
ผลวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างนั้น แต่มีคำถามว่าทำไมบั้งไฟพญานาคจึงเกิดขึ้นเฉพาะวันออกพรรษาเท่านั้น?

ไม่ว่าจะอย่างไรปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ก็ยังเป็นเป็นความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้าน ตลอดจนเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ยังมีให้เห็นอยู่ในทุกๆปี

ข้อมูลบางส่วนจาก : https://th.wikipedia.org
เรียบเรียงและให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดย : อาจารย์นุ siammongkol

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Pages