พระอู่ทองออกศึก ปี 2510 พระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี - สยามมงคลแมก

สยามมงคลแมก

สยามมงคลแมก : นิตยสารพระเครื่องและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออนไลน์ บทความสาระความรู้ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระเครื่อง ให้บูชาพระเครื่อง และแนะนำวัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง

test banner

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

พระอู่ทองออกศึก ปี 2510 พระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี




ในปี พ.ศ.2510 หลวงปู่โพธิ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดพระธาตุ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดสุพรรณบุรี และเป็นวัดที่ขุดค้นพบพระผงสุพรรณ ได้จัดสร้างพระอู่ทองออกศึกขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อแจกให้กับทหารที่ไปร่วมรบสงครามเวียดนาม เพื่อเป็นของดีติดตัวและเป็นขวัญกำลังใจเมื่อออกศึกสงคราม และ แจกจ่ายไปยังตามหน่วยราชการต่าง ๆ ทั่วประเทศ และอีกส่วนหนึ่งนำพระบรรจุไว้ในองค์พระปรางค์ที่วัดพระธาตุ เมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. ๒๕๑๒



ลักษณะพิมพ์ทรงของพระ ทำพิมพ์คล้ายกับพระผงสุพรรณ ด้านหลังเป็นยันต์เจดีย์องค์พระปรางค์ของวัดพระศรีมหาธาตุ โดยได้รวบรวมชนวนมวลสารต่างๆมี พระเนื้อดินพระชำรุดแตกหักกรุต่าง ๆ เป็นส่วนผสมหลัก เช่น พระผงสุพรรณ กรุวัดพระธาตุ, พระกรุวัดพระรูป, พระกรุวัดสำปะซิว, พระกรุวัดบ้านกร่าง, พระกรุถ้ำเสือ, พระกรุวัดบางยี่หน และพระเนื้อดินชำรุดแตกหักของพระเกจิอาจารย์ เท่าที่จัดหาได้อีกมากมาย

มีการจัดสร้างมีพระสีดำ สีเทา และสีแดง ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผง


พิธีพุทธาภิเษก

ครั้งแรก นำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังนั่งปรกปลุกเสก ๖๙ รูป ดังมีรายพระนามต่อไปนี้

๑. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
๒. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
๓. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
๔. หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร จ.สุพรรณบุรี
๕. หลวงพ่อใจ วัดวังยายหุ่น จ.สุพรรณบุรี
๖. หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี
๗. หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
๘. หลวงพ่อดี วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
๙. หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล จ.สุพรรณบุรี
๑๐. หลวงพ่อเจริญ วัดธัญเจริญ จ.สุพรรณบุรี
๑๑. หลวงพ่อบุญ วัดโคกโคเฒ่า จ.สุพรรณบุรี
๑๒. หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี
๑๓. หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
๑๔. หลวงพ่อดี วัดท่าเจริญ จ.สุพรรณบุรี
๑๕. หลวงพ่อเหมือน วัดไทรย์ จ.สุพรรณบุรี
๑๖. หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์เจริญ จ.สุพรรณบุรี
๑๗. หลวงพ่อเจิม วัดกุฎีทอง จ.สุพรรณบุรี
๑๘. หลวงพ่อเลียบ วัดช่องลม จ.สุพรรณบุรี
๑๙. หลวงพ่อวิจิตร วัดบ้านทึง จ.สุพรรณบุรี
๒๐. หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
๒๑. หลวงพ่อสุบิน วัดท่าช้าง จ.สุพรรณบุรี
๒๒. หลวงพ่อนาถ วัดศรีโลหะ จ.กาญจนบุรี
๒๓. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
๒๔. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
๒๕. หลวงปู่โต๊ะ วัดสระเกษ จ.อ่างทอง
๒๖. หลวงพ่อสนิท วัดศิลาขันธ์ จ.อ่างทอง
๒๗. หลวงพ่อสาย วัดท้องคุ้ง จ.อ่างทอง
๒๘. หลวงพ่อไวย์ วัดบรม จ.อยุธยา
๒๙. หลวงพ่อต่วน วัดกล้วย จ.อยุธยา
๓๐. หลวงพ่อชม วัดเขาดิน จ.อยุธยา
๓๑. หลวงพ่อทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา
๓๒. หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.อยุธยา
๓๓. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.อยุธยา
๓๔. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
๓๕. หลวงพ่อนก วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
๓๖. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๓๗. หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
๓๘. หลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพชญ จ.นครปฐม
๓๙. หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
๔๐. พระอารย์เจียม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม
๔๑. หลวงพ่อสุด วัดกาหลวง จ.สมุทรสาคร
๔๒. หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
๔๓. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
๔๔. หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร
๔๕. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร
๔๖. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
๔๗. หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
๔๘. หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ
๔๙. หลวงพ่อทูรย์ วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯ
๕๐. หลวงปู่เพิ่ม วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ
๕๑. หลวงพ่อผ่อง วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ
๕๒. หลวงพ่อหวล วัดพิกุล กรุงเทพฯ
๕๓. หลวงพ่อบุญนาค วัดเศวตฉัตร กรุงเทพฯ
๕๔. หลวงพ่อผล วัดหนังบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
๕๕. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
๕๖. หลวงพ่อเฮง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
๕๗. หลวงพ่อบุญมี วัดกลางอ่างแก้ว กรุงเทพฯ
๕๘. หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม จ.ราชบุรี
๕๙. หลวงปู่สิมมา วัดบ้านหมอ จ.สระบุรี
๖๐. หลวงพ่อโอด โคกเดื่อ จ.นครสวรรค์
๖๑. หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว จ.นครสวรรค์
๖๒. หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์
๖๓. หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท
๖๔. หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี
๖๕. พระอธิการถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
๖๖. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์
๖๗. พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี
๖๘. หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว จ.เพชรบุรี
๖๙. หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์

หลังจากประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งแรกแล้ว กองบัญชาการทหารสูงสุดโดยคำสั่งของ จอมพลขน กิตติขจร ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เดินทางมารับมอบ พระอู่ทองออกศึก จำนวน ๒๕,๗๐๐ องค์ เพื่อแจกแก่ทหารอาสาสมัครรุ่น " จงอางศึก " เดินทางไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม


หลังจากนั้นทางวัดได้นำพระที่เหลือประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีก 2 ครั้งคือ เมื่อวันที่ ๒-๑๐ มี.ค. ๒๕๑๑ และ วันที่ ๑๓ เม.ย. ๒๕๑๑ รวมพิธีปลุกเสกทั้งหมด 3 ครั้ง หลังจากนั้นได้แจกจ่ายไปยังตามหน่วยราชการต่าง ๆ ทั่วประเทศ และอีกส่วนหนึ่งนำพระบรรจุไว้ในองค์พระปรางค์ที่วัดพระธาตุ เมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. ๒๕๑๒



พระอู่ทองออกศึก รุ่นแจกทหารจงอางศึก หรือที่มักเรียกกันในวงการพระเครื่องว่า พระอู่ทองออกศึก รุ่นจงอางศึก เป็นพระดีที่จัดสร้างขึ้นด้วยเจตนาที่ดีตามแบบฉบับของการสร้างพระเครื่องในสมัยโบราณคือสร้างเพื่อแจกเป็นขวัญกำลังใจให้กับทหารหรือประชาชน และส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในเจดีย์ ถือเป็นพระดีมีคุณค่าอีกรุ่นหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Pages