ต๋าแหลว เป็นถือเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งที่เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของล้านนา มีลักษณะการนำไม้ไผ่ที่ฝ่าแล้ว นำมาสานกัน แล้วนำไปปักหรือแขวนไว้ตรงด้านบนขอบประตูหน้าบ้าน หรือปักไว้บริเวณที่ต้องการเพื่อการคุ้มครองป้องกัน
คุณสมบัติของตาแหล๋ว เชื่อกันว่าตาแหล๋วสามารถป้องกันเหตุเภทภัย เสนียดจัญไร สิ่งไม่ดีทั้งหลายรวมทั้งอาถรรพ์ต่างๆ ซึ่งทางเหนือเรียกว่าขึด ตลอดจนป้องกันอำนาจการรบกวนของภูติฝีปีศาจ นอกจากนั้นยังมีการนำตาแหล๋วไปผูกไว้กลางทุ่งนาเพื่อป้องกันสัตว์ที่จะรบกวนพืชที่ได้เพราะปลูกไว้
ความหมายของต๋าแหลว หากแปลตรงตัว ภาษาล้านนา แปลว่าตาของเหยี่ยว เพราะคำว่าแหล๋ว แปลว่าเหยี่ยวในภาษาล้านนา อันมีความหมายมาจากตาของเหยี่ยวนั้นมีความแหลมคม สามารถมองเห็นเหยื่อได้จากบนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจน มีความแหลมคม
ในพิธีกรรมต่างๆที่สำคัญของทางล้านนาไม่ว่าจะเป็นงานมงคล หรืองานอวมงคลต่างๆก็จะมีการสานตาแหล๋วนี้ปักหรือติดไว้เสมอ เพราะเชื่อว่าจะเป็นการป้องการสิ่งไม่ดีต่างๆที่อาจสอดแทรกเข้ามารบกวนได้ อนึ่งเพื่อเป็นการบอกอนาเขตว่าเป็นหากบ้านหรือสถานที่ใดปักตาแหล๋วไว้เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงว่าเป็นเขตหวงห้ามที่ห้ามไม่ให้สิ่งไม่ดีทั้งหลายเข้ามา
ตาแหล๋วจึงเป็นหนึ่งในตำนานเครื่องรางพื้นบ้านของล้านนาที่ยังมีให้เห็นสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น